วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ไม่มีกำลังใจ..ทำอย่างไรดี

ท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังคนอื่นพูดหรือบ่นอยู่เสมอว่า ไม่ค่อยมีกำลังใจจะทำอะไรเลย โดยความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เราทุกคนเมื่อเกิดมาย่อมต้องการความรัก ความอบอุ่น ความสุขสมหวัง ความสำเร็จ ความร่ำรวย ตลอดจน ร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็มิใช่ว่าจะประสบกับความสุขสมหวังเสมอไป บางครั้งอาจจะต้องประสบกับความผิดหวัง ในสิ่งที่พึ่งปรารถนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม บางคนก็สามารถ แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ก็มีหลายรายที่ไม่สามารถปัญหาได้ตามที่คาดหวังไว้

ผู้ที่ขาดกำลังใจนั้น มักจะมีความรู้สึก เบื่อหน่าย ท้อแท้ หดหู่ เซื่องซึม ไม่กระตือรือร้นที่จะกระทำกิจกรรมใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านมีความรู้สึกขาดกำลังใจเช่นว่านี้ก็อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ จงพยายามค้นหา ใคร่ครวญ ตรึกตรอง พินิจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความผิดหวังหรือความล้มเหลวนั้นซึ่งสาเหตุของการหมดกำลังใจ มีได้หลายสาเหตุ ได้แก่


1. ด้านร่างกาย อาจจะเป็นเพราะว่าร่างกายไม่สมประกอบ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำงานได้เหมือนผู้อื่น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายหมดกำลังใจได้

2. ด้านจิตใจ อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัว คือรู้ตัวว่ามีปัญหาและรู้ว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แต่ไม่สามารถขจัดหรือแก้ปัญหานั้นได้ จึงเกิดความไม่สบายใจเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่พึงปรารถนา หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว คือไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่มีกำลังใจ เงินทองก็มีใช้ ตำแหน่งหน้าที่การงานก็ดี แต่ถ้าเราค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองดู ก็จะรู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร สาเหตุอาจจะอยู่ลึกๆ หรือฝังใจมาตั้งแต่เด็กจนเราอาจนึกไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น มีความน้อยเนื้อต่ำใจในรูปร่างของตัวเอง ความไม่ยุติธรรมของพ่อแม่หรืออาจจะรู้สาเหตุแต่ไม่ยอมรับ จึงเกิดอาการท้อแท้ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ให้เป็นผลดีได้เท่าที่ควร

3. ด้านสังคม คือ ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ เมื่อตนทำดีแล้ว แต่ไม่มีใครเห็นความดี เช่น ทำงานมาหลายปี แต่เจ้านายไม่เคยเห็นความดี หรือความสำคัญของตนเลย

วิธีที่จะทำให้เกิดกำลังใจมีดังนี้

1. ก่อนอื่นต้องพยายามหาสาเหตุเสียก่อน ว่าการที่เราไม่มีกำลังใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วพยายามหาทางปรับปรุงแก้ไขและยอมรับเสีย

2. อย่าคิดหรือมองว่าตนเองเป็นคนมีปัญหา ไร้ความสามารถ คนอื่นที่เขามีปัญหา ไร้ความสามารถมากกว่าเราก็ยังมีอีกมาก เราต้องมาตั้งใจกระทำใหม่

3. อย่ามัวหมกตัวอยู่คนเดียว ลองพูดคุยกับผู้ที่เราไว้ใจ หรือเชื่อถือ อย่างน้อยก็เป็นการระบาย ความอัดอั้นตันใจของเราได้และเราอาจจะได้รับคำแนะนำ ชี้แนะจากเขาผู้นั้นก็เป็นได้

4 มองโลกในแง่ดี พยายามทำจิตใจให้สดชื่น อะไรต่างๆ ก็จะดูดีขึ้น

5. อ่านหนังสือดีๆ อาจจะได้รับความรู้ สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น และยังทำให้เราเกิดความเพลิดเพลินอีกด้วย

6. ออกกำลังกายตามที่ท่านชอบและถนัด ซึ่งอาจจะทำให้สุขภาพแข็งแรงได้อีกด้วย

7. พยายามอย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป ควรหางานอดิเรกทำ เช่น หัดทำกับข้าว เย็บปักถักร้อย ทำสวนครัว ฯลฯ เพราะอาจจะสนุกไปกับงานเหล่านั้น

8. เมื่อตื่นนอน ควรรีบลุกจากที่นอนทันที ควรมีแผนการทำงานของแต่ละวันและทำงาน ด้วยความกระฉับกระเฉง ตั้งใจที่จะกระทำกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจัง

จากวิธีที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะทำให้ท่านที่ขาดกำลังใจกลับมีกำลังใจขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้ชีวิต ของคุณมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

สันคอหมูย่างน้ำจิ้มแจ่ว

สันคอหมูย่างน้ำจิ้มแจ่ว


เครื่องปรุง
เนื้อสันคอหมูแล่ส่วนมันออกบ้าง 500 กรัม
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
เกลือ 1/2 ช้อนชา
เหล้า 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำจิ้ม
น้ำมะขามเปียกต้มสุก 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอย 1 หัว
ต้นหอม ผักชีฝรั่งซอย 1 ช้อนชา
น้ำมะนาว 1/2 ช้อนชา
พริกป่น 1 ช้อนชา
ข้าวคั่ว 1-2 ช้อนชา
น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
1. สันคอหมูแล่เป็นชิ้นสำหรับย่าง
2. ผสมน้ำตาลปี๊บ ซอสหอยนางรม พริกไทยป่น เกลือ เหล้า เข้าด้วยกัน ลองแตะลิ้นชิมดู อย่าให้เค็มหรือหวานมากจนเกินไป
3. นำหมูที่แล่ไว้มาเคล้านวดเล็กน้อย เพื่อให้ส่วนผสมเข้าเนื้อหมูหมักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
4. นำไปย่างไฟกลางค่อนข้างอ่อนจนสุกเหลือง นำมาหั่นเป็นชิ้นบางพอคำ เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้ม
5. น้ำจิ้ม ผสมน้ำตาลปิ๊บ น้ำปลา น้ำมะขามต้มสุก เข้าด้วยกัน ลองชิมดูให้ได้รสเค็ม เปรี้ยว หวาน (เผื่อรสเปรี้ยวไว้หน่อยเพราะจะต้องใส่น้ำมะนาวอีก) ใส่พริกป่น ข้าวคั่วคนให้เข้ากัน ใส่หอมแดงซอย ต้นหอม ผักชีฝรั่งซอยคนให้เข้ากันเสิร์ฟพร้อมคอหมูย่าง

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เทคนิคคลายเครียด

เทคนิคคลายเครียด


ความเครียดเป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดการตื่นตัวเตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ความเครียดเป็นเรื่องที่มีกันทุกคน จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา การคิด และการประเมินสถานาการณ์ของแต่ละคน ความเครียดเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ

1. สภาพปัญาหที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล เราจะสังเกตได้ว่าคนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจังกับชีวิตและใจร้อน นอกจากนี้คนที่รู้สึกว่าตัวเองมีคนคอยให้การช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา เช่น มีคู่สมรส มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง มีเพื่อสนิท ก็จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง
การจัดการกับความเครียด

แนวทางในการจัดการกับความเครียด มีดังนี้
1 หมั่นสังเกตความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด
2 เมื่อรู้ตัวว่าเครียดจากปัญหาใด ให้พยายามแก้ปัญหานั้นให้ได้โดยเร็ว
3 เรียนรู้การปรับเปลี่ยนความคิดจากแง่ลบให้เป็นแง่บวก
4 ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่คุ้นเคย
5 ใช้เทคนิคเฉพาะในการคลายเครียด
การสำรวจความเครียดของตนเอง

ความเครียดจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ดังนี้
ความผิดปกติทางร่างกาย ได้แก ปวดศรีษะไมเกรน ท้องเสีย หรือท้องผูก นอนไม่หลับหรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรอืกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
ความผิดปกติทางจิตใจ ได้แก่ วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุพหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เงหา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน เป็นต้น
ความผิดปกติทางพฤติกรรม ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้สารเสพย์ติด ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อย ๆ เงียบขลึม เก็บตัว
แก้ปัญหาได้ก็หายเครียด
ปัยหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในช่วงที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้จะรู้สึกเครียดมาก เมื่อแก้ปัญหาได้แล้ว ความเครียดจะหมดไป เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
จงละเว้นการแก้ปัญหาแบบต่าง ๆ ต่อไปนี้
1 อย่า...แก้ปัญหาแบบวู่วาม ใช้อารมณ์เป็นใหญ่
2 อย่า...หนีปัญหา
3 อย่า...คิดแต่จะพึ่งพาผู้อื่นอยู่ร่ำไป
4 อย่า...เอาแต่ลงโทษตัวเอง
5 อย่า...โยนความผิดให้ผู้อื่น
จงแก้ปัญาหอย่าเงป้ฯระบบ ใช้เหตุผลและใช้ความคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดย
* คิดหาสาเหตุของปัญหาด้วยใจเป็นธรรม ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่โทษคนอื่น
* คิดหาวิธีแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธี ถ้าคิดเองไม่ออก อาจปรึกษาผู้ใกล้ชิด หรือผุ้ทีมีประสบการณ์มากกว่า
* ลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่คิดไว้ อาจต้องใช้ความกล้าหาญ อดทน หรือต้องใช้เวลาบ้างอย่างได้ท้อถอยไปเสียก่อน
* ประเมินผลดูว่าวิธีที่ใช้ได้ผลหรอืไม่ ถ้าไม่ได้ผลก็เปลี่ยนไปใช้วธีอื่นๆ ที่เตียมไว้ จนกว่าจะได้ผล

พรหมลิขิตหรือกรรมลิขิต

พรหมลิขิตหรือกรรมลิขิต

ตั้งแต่เกิดมาเรามักเชื่อว่าเป็นเพราะพระพรหมลิต ขีดเส้นเกณฑ์ชะตาชีวิต ให้เราเป็นไปต่างๆนานา
แต่โดยแท้ที่จริงแล้วใครกันแน่ที่สามารถขีดเส้นเกณฑ์ชะตาลิขิตชีวิตมนุษย์ได้

โดยแท้จริงแล้วท่านทั้งหลายนั่นแหละที่สามารถลิขิตชีวิตของตนเองได้ เพราะการกระทำ คือ กรรมลิขิต การกระทำทั้งหลายทั้งดี ทั้งชั่ว เลว ทราม ควร ไม่ควร เหมาะสม ไม่เหมาะสม นั่นต่างหากลิขิตชีวิตของท่านทั้งหลาย ชาตินี้ท่านเกิดมาอาจคิดว่าไม่ได้ทำกรรมอะไรทำไมจึงลำบากทุกข์ยากนักหนา แต่เมื่อชาติก่อน ๆ ที่ท่านเกิดกระทำกรรมต่าง ๆ มาท่านลืมจนหมดสิ้นนึกคิดจดจำไม่ได้ จึงคิดว่าเป็นเรื่องของพรหมลิขิต แต่แท้จริงแล้วท่านนั่นแหละเคยก่อกรรมทำเข็ญมามากมาย ท่านจึงเป็นผู้ลิขิตชีวิตตนเอง จงอย่าไปโทษพระพรหมท่านให้เหนื่อยยากเลย
กรรมดี
หากท่านเป็นผู้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปกรรม ไม่คิดร้ายทำลายล้างชีวิตมนุษย์และชีวิตสัตว์ ไม่พูดจาโกหกพกลม ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา ไม่ลักขโมยของผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในกาม นั่นแหละท่านได้ลิขิตการกระทำที่ดีปลูกฝังประทับในจิตในใจของตนเอง เรียกว่า ประทับความดีไว้ในใจ ทำให้เป็นบ่อเกิดของกรรมดี

กรรมชั่ว
หากท่านเป็นผู้ที่ทำผิด ก่อกรรมทำเข็ญ อาฆาต พยาบาท คิดร้ายมุ่งร้ายชีวิตคนและสัตว์อื่น ขายอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด เล่นการพนัน ดื่มสุราเมรัย นั่นแหละท่านได้ลิขิตการกระทำที่ไม่ดีปลูกฝังประทับในจิตในใจของตนเอง เรียกว่า ประทับความชั่วเลวทรามไว้ในใจของตนเอง ทำให้เป็นบ่อเกิดของกรรมชั่ว

ใครกันแน่ที่สามารถลิขิตชีวิตของท่านได้ พระพรหมลิขิต หรือกรรมลิขิต กันแน่